ธรรมชาติของพลาสวูด
พลาสวูด (Plaswood) เป็นวัสดุสีขาวประเภทหนึ่งที่ผลิตจากการผสมผสานของพลาสติกรีไซเคิลและเส้นใยไม้ วัสดุชนิดนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายไม้แท้แต่เพิ่มเติมคุณสมบัติเด่นที่ไม้ไม่มี เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในปัจจุบัน
ข้อดี ของพลาสวู้ด
ทนต่อความชื้น ไม่บวมน้ำ
ทนต่อแมลงศัตรูไม้
น้ำหนักเบา
ไม่ลามไฟ
ยืดหยุ่น ดัดโค้ง งอได้
เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้ดี
ทนต่อกรดแก่ เบสแก่
ทำงานได้ง่ายด้วยเครื่องมืองานไม้ทั่วไป
ทาหรือพ่นสีได้ตามสะดวก
ข้อเสีย ของพลาสวู้ด
ข้อเสียคือมีราคาสูง
พลาสวูด 3 ชนิดที่นิยมนำมาทำป้ายบ้านเลขที่
แผ่นพลาสวูดที่นิยมนำมาทำป้าย มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
Celuka เป็นกระบวนการผลิตที่เหมือนกับการผลิตแบบ FREE FOAM แต่จะมีความหนาแน่นสูงกว่าตามความหนาของแผ่น ลักษณะเด่นคือ ผิวหน้าแข็งแรง มีความแข็งแรงสูง ทนต่อความชื้น และแมลงกินไม้ทุกประเภท
ความหนาทั่วไป 6 - 25 มม.Free foam เป็นกระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่ง ของแผ่นพลาสวูดทั่วไป ลักษณะเด่น คือ น้ำหนักเบา ผิวหน้านิ่ม สามารถตัดด้วยมีดหรือคัตเตอร์ทนต่อความชืื้น และแมลงกัดกินไม้ทุกประเภท
ความหนาทั่วไป 1 - 5 มม.Co-extrution เป็นกระบวนการผลิตที่ทำให้ผิวหน้าแข็ง โดยที่ ผิวภายในไม่ต้องมีความหนาแน่นสูงมาก ลักษณะเด่นคือ มีผิวหน้าแข็ง แต่น้ำหนักจะเบากว่าการผลิตแบบ Celulka ในความหนาเดียวกัน
ความหนาทั่วไป 2 - 25 มม.
ภาพจาก https://sgeprint.com/
ป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด 3 ประเภทที่นิยม
1.ป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด แบบฉลุลาย
อุปกรณ์ที่ใช้ฉลุลาย สามารถใช้ มีดคัทเตอร์ เลื่อยฉลุ เลื่อยจิ๊กซอร์ หรือเครื่องเครื่อง CNC ก็ได้ หากผู้อ่านมีทักษะทางช่างบ้างหรือเอาแค่พอใช้มีดคัทเตอร์เป็น ผู้อ่านก็สามารถทำเองได้
2.ป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด แบบแกะสลัก
นิยมใช้เครื่อง CNC ในการแกะสลัก เพราะทำได้ง่ายกว่าสิ่วแกะสลัก เนื่องจากลายมีความซับซ้อน
ภาพจาก https://bkkengraving.com
สีที่ใช้ในงานป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด
การบำรุงรักษาป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด
การดูแลรักษา
ป้ายบ้านเลขที่พลาสวูด
เนื่องจากพลาสวูดไม่มีปัญหาเรื่องความชื่น ทำให้ปัญหาเรื่องการบิดงอก็ไม่มี ทำให้การดูแลรักษาง่าย เพียงสังเกตสีป้าย หากสีจากลงก็ทาทับใหม่ได้เลย เพื่อให้ป้ายดูใหม่เสมอ