ธรรมชาติของไม้

ไม้ คือวัสดุธรรมชาติที่ได้มาจากลำต้นของต้นไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเนื่องจากมีสมบัติที่ดีหลายด้าน เช่น มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม มีผิวเรียบ มีกลิ่นและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีข้อเสียคือ ถ้าใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดการโก่งตัว หรือผุได้

ประเภทของไม้ที่นำมาใช้ในงานป้าย แบ่งตามเนื้อไม้ได้ดังนี้

  1. ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจาง หรือ ค่อนข้างซีด ความทนทานมีขีดจำกัดไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร จึงเหมาะกับงานในที่ร่ม หรือ งานชั่วคราวมากกว่าการนำมาปูพื้น ยกตัวอย่าง ไม้เนื้ออ่อนในงานป้ายบ้านเลขที่ เช่น ไม้ก้ามปู หรือจามจุรีเป็นต้น

  2. ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า โดยเฉลี่ยมีอายุหลายสิบปี จึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้เนื้อแข็ง ผิวสัมผัสของเนื้อไม้จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม (แดงถึงดำ) มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานปูพื้น งานเฟอร์นิเจอร์ และงานโครงสร้างไม้ ยกตัวอย่าง ไม้เนื้อแข่งในงานป้ายบ้านเลขที่ เช่น ไม้สักทอง เป็นต้น

  3. ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่มีการเจริยเติบโตช้ามากที่สุด จึงทำให้มีวงปีถี่มากกว่าไม้สองชนิดแรก โดยมีอายุเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60-70 ปีขึ้นไป จึงจะนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มากแต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้างเป็นหลัก อาทิ พื้น คาน ตง ขื่อ และเสา ยกตัวอย่าง ไม้เนื้อแกร่งในงานป้ายบ้านเลขที่ เช่น ไม้แดง เป็นต้น

ป้ายบ้านเลขที่ไม้สักแกะสลัก

ที่มา : www.woodhomesigns.com

ไม้ 5 ชนิดที่นิยมนำมาทำป้ายบ้านเลขที่

ข้อดี

  • แข็งแรงทนทาน แต่เนื้อไม้มีความนิ่มสามารถแกะสลัก ตัด ฉลุได้ง่าย

  • ให้ผิวสัมผัสที่ละเอียดสวยงาม

  • ไม้สัก ปลวกไม่ชอบกิน

  • ไม้สัก ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า

  • ไม้สักเป็น 1 ไม้มงคลของไทย

ข้อเสีย

  • พื้นผิวไม้สัก จะเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย

  • ไม้สักที่มีอายุมาก ก็จะยิ่งมีราคาสูง

  • ไม้สักจะบิดตัว และงอตัวเล็กน้อยเมื่อมีสภาพอากาศที่ร้อนแห้งมากๆ

  • ช่างฝีมือที่มีความชำนาญในงานไม้สักในปัจจุบันนั้นหายาก

1.ไม้สัก

ภาพจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ข้อดี

  • ไม้จามจุรีเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย เพราะไม้จามจุรีเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกง่าย โตไว ทำให้มีราคาไม่แพง

  • มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่าย เหมาะกับการทำเฟอร์นิเจอร์และทำของตกแต่งภายในบ้าน

  • ไม้จามจุรีมีลวดลายสวยงาม คล้ายไม้สักมาก

  • เหมาะกับการแกะสลัก เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีลวดลายโดดเด่น ทำให้นิยมนำไปเกาะสลักเป็นของตกแต่งบ้าน เช่นป้ายบ้านเลขที่แกะสลัก เป็นต้น

  • มีความทนทานพอสมควร หากใช้งานในร่มที่ไม่ต้องตากแดดตากฝน ก็สามารถอยู่คงทนได้ยาวนานนับสิบปี

  • ไม้จามจุรี ไม่จัดอยู่ในประเภทไม้หวงห้ามตามกฎหมาย จึงสามารถขนย้ายได้โดยไม่ต้องขอรับอนุญาตหรือขอหนังสือรับรองการนำเคลื่อนย้าย

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอก เพราะไม้จามจุรีไม่ทนแดดทนฝน แต่สามารถใช้งานนอกบ้านที่มีหลังคาหรือร่มเงาได้

  • เนื้อไม้แตกได้ง่าย เพราะเนื้อไม้จามจุรีมีความชื้นค่อนข้างมาก มักทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว

2.ไม้จามจุรี

ภาพจาก https://blueseawood.com/

ข้อดี

  • ไม้ประดู่มีความเเข็งแรง ทนทานต่อรอยขีดข่วน และสามารถรับน้ำหนักได้ดีมาก

  • เนื้อไม้ประดู่ค่อนข้างละเอียด จึงสามารถนำไปไสกบตกแต่ง และขัดเงาได้ดี

  • ลักษณะสีเส้นเสี้ยนจะแก่กว่าสีพื้น ลายเสี้ยนสับสนเป็นริ้ว มีลวดลายที่สวยงาม

  • ไม้ประดู่มีอัตราการหดตัวค่อนข้างน้อย

ข้อเสีย

  • ไม้ประดู่เป็นไม้ที่อมความร้อน

  • ไม้ประดู่ มีเนื้อไม้ค่อนข้างแน่น ยากต่อการตัดแต่ง ในงานป้ายนิยมนำมากัดด้วยเครื่อง CNC

  • ถึงไม้ประดู่จะมีอัตราการยืดหดตัวค่อนข้างน้อย แต่ก็มีโอกาสยืด-หดตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันได้

3.ไม้ประดู่

ภาพจาก https://www.suansangsuk.com/

ข้อดี

  • เป็นไม้เนื้อแข็ง เหนียว ทนทาน

  • เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง

  • น้ำหนักเบา

  • ปลวกไม่ชอบกิน ทนต่อราและแบคทีเรีย

  • ไม้ขนุน เป็นไม้มงคลของคนไทย

ข้อเสีย

  • ไม้ไม่ค่อยมีลวดลาย จะเป็นสีโทนเดียว

  • หายาก ราคาค่อนข้างแพง

  • ไม่เหมาะตากแดด-ฝน

4.ไม้ขนุน

ข้อดี

  • เป็นไม้เนื้อแข็ง เหนียว ทนทาน

  • เนื้อไม้มีความละเอียดมาก

  • มีน้ำมันในตัว ซักเงาได้ดี

  • เป็นไม้มงคลของคนไทย เชื่อในเรื่อง พยุงวาสนา

ข้อเสีย

  • เป็นไม้มีราคาแพง

  • หายาก เป็นไม้หวงห้าม ยกเว้นตัดในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง สามารถตัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

5.ไม้พะยูง

ภาพจาก https://www.phargaden.com/

รูปแบบป้ายบ้านเลขที่ไม้ ที่พบมากในปัจจุบัน

งานแกะสลัก

1. ป้ายบ้านเลขที่ไม้แกะสลัก

ป้ายบ้านเลขที่ไม้แกะสลัก ลักษณะการทำคือใช้เลื่อยฉลุ ฉลุไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วทำการแกะด้วยสิ่วแกะสลักเป็นงาน Handmade นิยมมากในภาคเหนือของไทย ปัจจุบันงานแบบนี้มีน้อยลงเรื่อยๆ เพราะคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจสานต่อ ทำให้ช่างฝีมือดี ค่อยๆหายไป แต่ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่หันมาใช้เครื่องจักร (เครื่อง CNC) แทนการแกะสลักด้วยมือ งานที่ได้ไม่เหมือนกับแกะด้วยมือแต่ก็สวยงามไปอีกแบบ ข้อเสียใหญ่เลยสำหรับงานแกะสลักด้วย เครื่อง CNC คื่อ ต้นทุนสูง ทำให้ราคาแพง ยิ่งลวดลายมาก ราคายิ่งสูงมาก

ป้ายบ้านเลขที่ไม้แกะสลักด้วยมือ

ภาพจาก https://www.woodhomesigns.com/

ตัวอย่างป้ายไม้แกะสลักด้วยเครื่อง CNC

ภาพจาก https://www.woodhomesigns.com/

งานฉลุ

2. ป้ายบ้านเลขที่ไม้แบบฉลุ

ป้ายบ้านเลขที่ไม้ฉลุลาย ทำการฉลุด้วยเลื่อยฉลุ ตามลายที่ออกแบบไว้ เสร็จแล้วก็ฉลุตัวอักษรนำมาติดด้วยกาวร้อน ดังรูปตัวอย่าง

งานกัดนูน

3. ป้ายบ้านเลขที่ไม้แบบกัดนูน

ป้ายบ้านเลขที่ไม้กัดนูน คือป้ายที่ใช้ เราเตอร์ไฟฟ้าหรือ เครื่อง CNC กัดไสเนื้อไม้ในส่วนที่เราไม่ต้องการออกไป เนื้อไม้ส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็นลวดลาย หรืออักษรตามที่เราออกแบบไว้ จุดเด่นงานแบบนี้คืออักษรจะไม่หลุดตลอดอายุป้าย

งานเซาะร่อง

4. ป้ายบ้านเลขที่ไม้เซาะร่อง

ป้ายบ้านเลขที่ไม้เซาะร่อง คือป้ายที่ใช้ เราเตอร์ไฟฟ้าหรือ เครื่อง CNC กัดเข้าไปในเนื้อไม้ตามแบบที่ออกแบบไว้ จุดเด่นงานแบบนี้คือไม่ต้องกลัวอักษรหลุดและผิวหน้า จะเรียบเสมอกันทั้งแผ่น

สีงานป้ายบ้านเลขที่ไม้

สีในงานป้ายบ้านเลขที่ไม้ จะมีสองลักษณะดังนี้

  1. สีย้อมไม้ เป็นสีที่มีฟิล์มสีโปร่งใส (ใสและมีสี : Transparent) ใช้สำหรับทาไม้ เพื่อรักษาสภาพเนื้อไม้ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น โดยเมื่อทาทับลงไปบนเนื้อไม้แล้ว ยังคงเห็นเนื้อไม้และลวดลายเดิมอยู่ จุดเด่นคือ สีประเภทนี้กันน้ำซึมเข้าเนื้อไม้ แต่ปล่อยน้ำออกได้ และฟิล์มสีมีความยึดหยุ่น เมื่อไม้มีการหดหรือขยายตัวฟิล์มสีจะไม่แตก นิยมใช้ในงานไม้นอกอาคาร ระบบนี้เวลาซ่อมสี หรือทำสีใหม่ ทำได้กว่าระบบสีทาไม้ ตัวอย่างสีเช่น Beger WoodStain, WoodTech WoodStain เป็นต้น

  2. สีทาไม้ เป็นสีที่มีฟิล์มทึบแสง เมื่อทาลงบนไม้แล้วจะมองไม่เห็นลายไม้ ป้องกันความชื่นทั้งขาเข้าและขาออกจากเนื้อไม้ ดังนั้นถ้าป้ายบ้านที่ทำมาจากไม้ที่มีความชื่นอาจทำให้ไม้ผุเร็วได้ โดยไม่รู้ตัว และเมื่อไม้มีการหดหรือขยายตัวอาจทำให้ฟิล์มสีแตกได้ ตัวอย่างสี เช่น สีน้ำอะคริลิค สีทอง Hato, สีน้ำมัน สีทอง Hato เป็นต้น

ทั้งสองระบบ มีทั้งสีน้ำ และสีน้ำมัน วัตถุประสงค์เดียวกันคือรักษาเนื้อไม้และยืดอายุการใช้งานไม้ อย่างไรก็ดี ช่างป้ายแต่ละคน มีขั้นตอนการทำสีและมีวิธีเลือกใช้สีต่างกัน หากต้องการทราบรายละเอียดชัดเจน สามารถสอบถามช่างได้โดยตรง

ป้ายบ้านเลขที่ไม้ใช้ระบบสีทาไม้

ป้ายบ้านเลขที่ไม้ใช้ระบบสีย้อมไม้

การบำรุงรักษาป้ายบ้านเลขที่ไม้

การบำรุงรักษาป้าย

  1. เลือกโทนสีทับหน้าที่ไม่ทำให้ซีดเร็ว เช่น สีทอง สีไม้สัก เป็นต้น และต้องเป็นสีที่มีคุณภาพ ปัจจุบันช่างส่วนใหญ่นิยมใช้สีกลุ่ม TOA Beger Hato

  2. ติดตั้งป้ายในที่ร่ม

  3. หมั่นทำความสะอาดป้าย และทาสีหรือย้อมสีป้ายใหม่เมื่อสังเกตเห็นว่าสีป้ายซีดจางลง

  4. ถ้าพบสีเสื่อมสภาพจนเกินซ่อมแซมได้ ต้องทำการขัดสีหรือลอกสีเก่า แล้วเริ่มกระบวนการทำสีใหม่

ภาพจาก https://www.py-pao.go.th/